เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผลิตภัณ์เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนัก
ในปัจจุบัน คนมีแนวโน้มที่จะมีภาวะน้ำหนักเกินและเกิดโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และ โรคมะเร็งบางชนิด หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน คือ การรับประทานอาหารมากเกินไป รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับร่างกาย หรือไม่ถูกหลักโภชนาการ ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความต้องการต่อวัน (อ้างอิงที่ 1)
เหตุใดจึงต้องควบคุมน้ำหนัก?
การลดน้ำหนักช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้ (อ้างอิงที่ 2) ลดการอักเสบในร่างกาย และทำให้สุขภาพดีขึ้น ซึ่งวิธีการรักษาโรคอ้วนที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการควบคุมปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน
ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร..ตัวช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
เนื่องจากการคำนวณพลังงานและสารอาหารที่เรารับประทานต่อวันนั้นมีความยุ่งยาก และต้องใช้เวลาในการเตรียมอาหารแต่ละมื้อ ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหารที่มีการคำนวณค่าพลังงาน และมีสารอาหารที่ครบถ้วน มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม จึงสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบและใช้ในการควบคุมปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับต่อวันได้อย่างแม่นยำ และช่วยทำให้น้ำหนักลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารนี้สามารถรับประทานเพื่อทดแทนอาหารได้ทั้งหมด 3 มื้อ หรือทดแทนบางส่วนคือ 1-2 มื้อต่อวันได้
ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารจึงช่วยทำให้การลดน้ำหนักได้ผลดีมากกว่าการควบคุมอาหารแบบทั่วไป (อ้างอิงที่ 2) และมีข้อมูลงานวิจัยแบบการวิเคราะห์อภิมานจาก 22 งานวิจัย ที่ลดน้ำหนักโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร พบว่า การได้รับพลังงานจากผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารมากกว่า 60% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมดต่อวัน (ประมาณ 2 มื้อขึ้นไป) จะส่งผลให้ลดน้ำหนักได้ดี (อ้างอิงที่ 3)
นอกจากนี้ การรับประทานผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารยังช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสม มีใยอาหารสูง ดูดซึมได้เร็ว ทำให้อิ่มท้องได้นาน ต่างจากการลดน้ำหนักแบบอดอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาอีกด้วย
ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร
- ลดโอกาสที่ร่างกายจะได้รับพลังงานจากการรับประทานอาหารที่มากเกินไป จนเกินความต้องการของร่างกาย
- ให้พลังงานที่เหมาะสม มีสารอาหารที่ครบถ้วน
- มีสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
- เป็นตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารแบบเดิมๆ ที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
คุณสมบัติของอาหารสำหรับควบคุมน้ำหนักที่มีคุณภาพจะต้องมีเกณฑ์ตรงตามมาตรฐานสากลโดย Codex ดังนี้ (อ้างอิงที่ 4)
- ให้พลังงาน 200-400 กิโลแคลอรีต่อมื้อ (สำหรับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก ควรได้รับพลังงานประมาณ 800-1200 แคลอรีต่อวัน)
- ให้พลังงานจากโปรตีน 25-50% ของพลังงานทั้งหมด เช่น ถ้าอาหารให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี ต้องได้พลังงานจากโปรตีน 62.5 กิโลแคลอรี หรือ 15.6 กรัมขึ้นไปต่อมื้อ และไม่ควรรับประทานโปรตีนต่ำกว่า 50 กรัม และไม่ควรเกิน 125 กรัม ในแต่ละวัน
- โปรตีนต้องเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง คือ มีปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมโปรตีนไปใช้ได้ง่าย ตัวอย่างโปรตีนคุณภาพสูง ได้แก่ นม ไข่ และโปรตีนถั่วเหลือง ทั้งนี้สามารถเติมกรดอะมิโนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพโปรตีนได้
- ให้พลังงานจากไขมันไม่เกิน 30% ของพลังงานทั้งหมด เช่น ถ้าอาหารให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี ควรมีพลังงานจากไขมันไม่เกิน 75 กิโลแคลอรี หรือ 8.3 กรัม
- ให้พลังงานจากไขมันไลโนเลอิกมากกว่า 3% ของพลังงานทั้งหมด
- มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดี
ส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้
- โปรตีนจากถั่วเหลือง เป็นโปรตีนจากพืชที่มีคุณภาพสูง และยังให้ผลดีในการลดไขมันในเลือด, ภาวะดื้ออินซูลิน (insulin intolerance), กระบวนการเผาผลาญไขมัน (อ้างอิงที่ 5) รวมทั้งยังทำให้ได้พฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและป้องกันโรคอีกด้วย (อ้างอิงที่ 6, 7)
นอกจากนี้ยังมีสถิติจาก 22 งานวิจัย ซึ่งมีจำนวนผู้ที่มีภาวะอ้วน 870 คน พบว่าการรับประทานอาหารผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนัก, ดัชนีมวลกาย, ปริมาณไขมัน และขนาดรอบเอวของคนอ้วนอย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 8)
- กรดอะมิโน ได้แก่ วาลีน, ลิวซีน, ไอโซลิวซีน และเมไธโอนีน ช่วยปรับคุณภาพโปรตีนจากถั่วเหลืองให้มีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นให้ใกล้เคียงโปรตีนจากสัตว์มากขึ้น ซึ่งวาลีน, ลิวซีน และไอโซลิวซีน เป็นกรดอะมิโน กลุ่ม Branched Chain Amino Acids (BCAAs) ช่วยในการเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถนะในการออกกำลังกาย ลดการเหนื่อยล้าหลังออกกำลังกาย และช่วยในการลดน้ำหนัก (อ้างอิงที่ 9)
- โพลีเด็กซ์โดรส มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
⁃ เป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ (Soluble dietary fiber)
⁃ เป็นพรีไบโอติก(Prebiotic) และซินไบโอติก (Synbiotic)
⁃ ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
⁃ ช่วยทำให้อิ่ม
⁃ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์
⁃ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
⁃ ช่วยต้านมะเร็ง
⁃ ช่วยเพิ่มการดูดซึมของแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก ในลำไส้ใหญ่ (อ้างอิงที่ 10)
- ไฟเบอร์ครีมจากน้ำมันมะพร้าวผสมใยอาหารอินนูลิน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ (อ้างอิงที่ 11)
- ไฮโดรไลซ์โอ๊ต เมื่อโอ๊ตผ่านการไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์จะทำให้โมเลกุลมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ย่อยง่าย เนื้อสัมผัสไม่ข้นหนืด ทำให้ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงขึ้นกว่าโอ๊ตปกติ (อ้างอิงที่ 12) และส่งผลดีต่อสุขภาพดังนี้:
⁃ ช่วยลดคอเลสเตอรอล
⁃ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
⁃ ช่วยในการลดน้ำหนัก เพิ่มความอิ่มและลดความอยากอาหาร
⁃ ช่วยเพิ่มจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ (อ้างอิงที่ 13)
- น้ำตาลมะพร้าว เป็นน้ำตาลที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำคือ น้อยกว่า 55 ทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างช้าๆ และทำให้อิ่มได้นาน
- น้ำมันทานตะวัน ให้กรดไขมันไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นและดีต่อสุขภาพ
- วิตามิน 13 ชนิด ได้แก่ วิตามินเอ, วิตามินดี, วิตามินอี, วิตามินเค, วิตามินซี, วิตามินบี 1, วิตามินบี 2, วิตามินบี 3, วิตามินบี 5, วิตามินบี 6, กรดโฟลิก, ไบโอติน และวิตามินบี 12
- แร่ธาตุ 11 ชนิด ได้แก่ โซเดียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, เหล็ก, สังกะสี, ไอโอดีน, แมงกานีส, ทองแดง และซีลีเนียม
จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหารมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมอาหาร, ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน, ผู้ที่ต้องการรักษารูปร่างให้สมส่วน, ผู้ที่ต้องการสารอาหารครบ 5 หมู่ หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารมื้อปกติได้ยาก เนื่องจากการรับประทานผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารจะทำให้เราได้พลังงานที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน มีวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสม ให้ใยอาหารสูง และมีน้ำตาลชนิดที่ทำให้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างช้าๆ ช่วยให้อิ่มได้นาน รวมทั้งยังสะดวกและง่ายต่อการรับประทาน ช่วยลดเวลาจากการเตรียมอาหารในมื้อปกติอีกด้วย
ดูข้อมูลเพิ่มเติม/สั่งซื้อ: ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร (อาหารควบคุมหรือลดน้ำหนัก) ฟิตต์ มีล บาย กิฟฟารีน
เอกสารอ้างอิง:
- FAO (2016). Policies and programmes to fight overweight and obesity
- Kim, Young. (2021). Optimal diet strategies for weight loss and weight loss maintenance. Journal of obesity & metabolic syndrome 30(1):20.
- Min, Jihyun, et al. (2021). The effect of meal replacement on weight loss according to calories restriction type and proportion of energy intake: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trails. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics 121(8): 1551-1564.
- Alimentarius, C. (1991). Codex Stan 181, 1991. Codex Standard for Formula Foods for Use in Weight Control Diets
- Velasquez MT, Bhathena SJ. (2007). Role of Dietary Soy Protein in Obesity. Int J Med Sci 4(2): 72-82. doi:10.7150/ijms.4.72.
- Song M, Fung TT, Hu FB, et al. (2016). Association of Animal and Plant Protein Intake With All Cause and Cause-Specific Mortality. JAMA Intern Med. 176(10): 1453-1463. doi:10.1001/jamainternmed.2016.4182
- Naghshi, Sina, et al. (2020). Dietary intake of total animal and plant proteins and rink of all cause, cardiovascular, and cancel mortality: systematic review and dose-response meta-analysis of prospective cohort studies. bmj 370.
- Mu, Yuze, et al. (2019). Soy products ameliorate obesity-related anthropometric indicators in overweight or obese asian and non-menopausal women: A meta-analysis of randomized controlled trails. Nutrients 11(11): 2790.
- Healthline.com (2021). “BCAA Benefits: A Review of Branched-Chain Amino Acids” (online). https://www.healthline.com/nutrition/bcaa สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566
- Do Carmo, Mariane Moreira Ramiro, et al. (2016). Polydextrose: Physiological function, and effects on health. Nutrients 8(9): 553.
- Mumpuni, Hasanah, et al. (2022) FiberCreme as a Functional Food Ingredient Reduced Hyperlipidemia and Risk of Cardiovascular Diseases in Subjects with Hyperlipidemia. Preventive Nutrition and Food Science 27(2): 165.
- Jodayree, Sara. (2015). Antioxidant activity of oat bran hydrolyzed protein s in vitro and vivo. Diss. Carleton University.
- Paudel, D. et al (2021). A review of health-beneficial properties of oats. Foods, 10(11): 2591.