แอสตาแซนธิน กับประสิทธิภาพการต่อต้านริ้วรอยแห่งวัย
ริ้วรอยเกิดจากอะไร
ริ้วรอยเกิดจาก…การเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆภายในร่างกาย และปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น มลภาวะทางอากาศ ซึ่งเป็นตัวเร่งให้ผิวเสื่อมสภาพได้เร็วยิ่งขึ้น ริ้วรอยจัดว่าเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้หญิงเป็นอันดับต้นๆ
ปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดริ้วรอย
- การเสื่อมสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนังประเภทคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้น และนำไปสู่การเกิดริ้วรอยชนิดถาวร
- การแสดงอารมณ์และสีหน้า ซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เช่น การยิ้ม การขมวดคิ้ว
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดริ้วรอย
คือ มลภาวะต่างๆ เช่น รังสียูวีจากแสงแดด มลพิษทางอากาศ ฝุ่นควัน การสูบบุหรี่ ซึ่งก่อให้เกิดอนุมูลอิสระภายในผิว จนเซลล์ผิวเกิดการเสื่อมสภาพ ส่งผลให้เกิดริ้วรอย จุดด่างดำ และความหมองคล้ำของผิว
ประเภทของริ้วรอย
ริ้วรอยตื้น (Fine Wrinkles)
มีลักษณะเป็นเส้นบางๆที่ผิว มักเกิดบริเวณแก้ม อันเป็นผลมาจากผิวที่แห้งและขาดความชุ่มชื้น เนื่องจากผิวถูกรบกวนจนเกิดการระคายเคือง การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรงต่อผิว การทำความสะอาดผิวหน้าที่รุนแรงเกินไป โดยเฉพาะการใช้น้ำอุ่นล้างหน้า รวมทั้งมลภาวะจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ก็เป็นปัจจัยเร่งที่ก่อให้เกิดริ้วรอยได้
ริ้วรอยร่องลึก (Deep Wrinkles or Skin Folds)
มักเกิดจากความหย่อนคล้อยของโครงสร้างผิว เป็นผลมาจากการลดลงของคอลลาเจนในชั้นผิวและการเปลี่ยนแปลงของอิลาสตินตามธรรมชาติจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นร่องลึกบริเวณมุมปีกจมูกโค้งลงมาที่มุมปาก และอาจโค้งยาวลงมาถึงคางคล้ายเครื่องหมายวงเล็บรอบปาก จนเกิดความหย่อนคล้อยปรากฏขึ้นบริเวณแก้มทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดริ้วรอยได้มากยิ่งขึ้น เช่น รังสียูวีจากแสงแดด การสูบบุหรี่ และมลภาวะเป็นพิษต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดอนุมูลอิสระภายในผิว
เหตุใดอนุมูลอิสระจึงทำให้เกิดริ้วรอย
อนุมูลอิสระ (Free Radical or Oxidant) คือ โมเลกุล หรืออะตอมที่ไม่เสถียร เนื่องจากการขาดอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนอกสุดของอะตอม อนุมูลอิสระนี้มีช่วงอายุสั้นเพียงแค่ไม่กี่เสี้ยววินาที แต่สามารถสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างดีเอ็นเอ ด้วยการแย่งจับอิเล็กตรอนของเซลล์อื่นในร่างกาย ที่เรียกว่า ภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) ทำให้โมเลกุลของร่างกายไม่เสถียร เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างของเซลล์ภายในร่างกาย ทำให้เซลล์ถูกทำลายและเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เราแก่เร็ว มีริ้วรอย เจ็บป่วยได้ง่าย และอาจเกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในภายหลัง เราจึงต้องการสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยทำให้โมเลกุลที่ไม่เสถียรนี้มีความเป็นกลาง และปกป้องร่างกายจากการเสื่อมสภาพของเซลล์
อนุมูลอิสระ เกิดขึ้นได้อย่างไร
สารอนุมูลอิสระ เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายของเรา โดยร่างกายของเราจะสร้างสารอนุมูลอิสระนี้ตลอดเวลา เซลล์ต่างๆจึงเกิดการเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ร่างกายจะค่อยๆเสื่อมสภาพถดถอยลง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกจากมลภาวะต่างๆรอบตัวเรา เช่นมลภาวะทางอากาศ ฝุ่น ควันรถยนต์ รังสียูวีจากแสงแดดสารจากโลหะหนัก การสูบบุหรี่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์การรับประทานอาหารทอดต่างๆ ล้วนแต่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างสารอนุมูลอิสระขึ้นมาด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีกลไกในการควบคุมสารนี้ เพื่อให้ลุกลามได้ช้าลง และสร้างความเสียหายแก่เซลล์ในร่างกายของเราให้ช้าลง
เราสามารถปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระได้อย่างไร
สิ่งสำคัญที่จะช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ก็คือ สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เป็นสารที่สามารถยับยั้ง หรือชะลอการเกิด ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระได้ โดยสารเหล่านี้จะมีกลไกในการต้านอนุมูลอิสระหลายแบบ เช่น ดักจับอนุมูลอิสระโดยตรง ยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระหรือเข้าจับกับโลหะเพื่อป้องกันการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเซลล์จากอนุมูลอิสระได้ โดยทั่วไปสารต้านอนุมูลอิสระสามารถพบได้ในธรรมชาติจากสารหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ สาหร่าย เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เช่น ในมะเขือเทศก็มีสารไลโคปีนสูง หรือในแครอทก็มีสารเบตาแคโรทีนสูง เป็นต้น
ทำความรู้จักกับ…แอสตาแซนธิน สารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ชนิดหนึ่งในกลุ่มแซนโทฟิลล์ สามารถพบได้ในแหล่งธรรมชาติที่ทำให้เกิดสีแดงหรือสีชมพูทั้งในพืชและสัตว์ เช่น เปลือกกุ้ง เปลือกปู ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ และยังสามารถพบได้ในสาหร่ายพันธุ์ Haematococcus pluvialis ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่มีแอสตาแซนธินสูงที่สุดในธรรมชาติ และมีคุณสมบัติไม่แตกต่างจากแอสตาแซนธินที่อยู่ในปลาแซลมอนและสัตว์ทะเลอื่นๆ
แอสตาแซนธินมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดในสารกลุ่มแคโรทีนอย์ด้วยกัน มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถปรับตัวเองให้อยู่ได้ทั้งส่วนที่เป็นไฮโดรฟิลิก (ชั้นน้ำ) และไฮโดรโฟบิก (ชั้นไขมัน) ต่างจากเบต้าแคโรทีนที่จะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นไขมัน และวิตามินซีจะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นน้ำ ดังนั้นแอสตาแซนธินมีจึงมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าในการป้องกันผนังเซลล์ซึ่งมีทั้งชั้นน้ำและไขมัน (Lipid Bilayer) จากปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชั่น
ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ
- สูงกว่าวิตามินซี 6,000 เท่า
- สูงกว่าวิตามินอี ถึง 1,000 เท่า
- สูงกว่าโคเอนไซม์คิวเท็น 800 เท่า
- สูงกว่าสารกัดจากชาเขียว 560 เท่า
- สูงกว่าอัลฟาไลโปอิก 75 เท่า
ด้วยสรรพคุณในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง แอสตาแซนธินจึงนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อช่วยในเรื่องของการดูแลผิวพรรณ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะผิวไหม้แดด นอกจากนี้แอสตาแซนธินยังช่วยในการดูแลสุขภาพของเซลล์อื่นๆ ทั้งในเรื่องของการดูแลดวงตาและการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
แอสตาแซนธินสามารถใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางที่ใช้ทาบำรุงผิวโดยตรง มีประสิทธิภาพในการช่วยลดเลือนริ้วรอย และป้องกันการเกิดภาวะผิวหนังไหม้แดดได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดแอสตาแซนธินของกิฟฟารีน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กิฟฟารีน แอสตาแซนธิน (30 แคปซูล) และ กิฟฟารีน แอสตา-แมกซ์ (30 แคปซูล)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กิฟฟารีน แอสตา คิว พลัส (30 แคปซูล)
กิฟฟารีน แอสตาแซนธิน อินเทนซีฟ ซีรั่ม บำรุงผิวกลางวันและกลางคืน (20 กรัม)
กิฟฟารีน แอสตาแซนธิน เอจ-ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม บำรุงผิวกลางคืน (50 กรัม)
ครีมบำรุงและลดริ้วรอยผิวบริเวณลำคอ กิฟฟารีน แอสตาแซนธิน เอจ-ดีไฟอิ้ง เนค ครีม (75 กรัม)
โลชั่นบำรุงผิวกาย กิฟฟารีน แอสตาแซนธิน เอจ-ดีไฟอิ้ง บอดี้ โลชั่น (250 มล.)
กิฟฟารีน แอสตาแซนธิน เอจ-ดีไฟอิ้ง แฮนด์ แอนด์ เนล ครีม บำรุงมือและเล็บ (40 กรัม)
เอกสารอ้างอิง
- Jirum J., and Srihanam P. (2011) Oxidants and antioxidants: Sources and mechanism. Academic Journal of Kalasin Rajabhat University. 1(1): 59-70.
- นายแพทย์จิโรจ สินธวานนท์. (2556). ผิวหนังอวัยวะมหัศจรรย์. (ออนไลน์). 2556
- Halliwell B. (2009). The Wanderings of a free radical. Free Radical Biology and Medicine. 46: 531-542.
- Tominaga K., Hongo N., Karato M., and Yamashita E. (2012). Cosmetic benefits of Astaxanthin on humans subjects. Acta Biochimca Polonica. 59(1): 43-47.
- Guerin M., Huntley M.E., and Olaizola M. (2003) Haematococcus astaxanthin: applications for human health and nutrition. Trends in Biotechnology. 21(5): 210-216.
- Hussein G., Sankawa U., Goto H., Matsumoto., and Watanabe H. (2006). Astaxanthin is a carotenoid with potential for human health and nutrition. Journal of Natural Products. 69(3): 443-449.
- Nishida Y., Yamashita E., and Miki W. (2007). Quenching Activities of Common Hydrophilic and Lipophilic Antioxidants against Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science. 11: 16-20.
- Yamashita E. (2006). The Effect of a Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science. 10: 91-95